ภาวะข้อเท้าบวม

 

ภาวะข้อเท้าบวม

        เกิดจากอะไร ? ทั้งๆที่ไม่ได้ออกกำลังกาย ไม่เกิดอุบัติเหตุ  บทความ “ภาวะข้อเท้าบวม เกิดจากอะไรได้บ้าง ” โดย นายแพทย์ ทนงเกียรติ  เทียนถาวร แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง และหลอดเลือดดำบรรยาถึงสาเหตุต่างๆที่ทำให้ข้อเท้าบวม เพิ่มเติม

ภาวะข้อเท้าบวม เกิดจากอะไรได้บ้าง

swelling ankle1 ภาวะข้อเท้าบวม

       #swallingAnkle

ภาวะข้อเท้าบวม เกิดจากอะไรได้บ้าง

   เมื่อพบว่าเท้าหรือข้อเท้าบวมคนไข้หลายคนคงเกิดอาการสงสัยว่า. เอ๊ะนี่มันเกิดจากอะไรได้บ้างนะไม่ได้ไปออกกำลังเกิดอุบัติเหตุหรือล้มลุกคลุกคลานอะไรมาอยู่ดีๆข้อเท้าก็บวมใส่รองเท้าคับขึ้น

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

จริงๆแล้วเมื่อเกิดอาการแบบนี้มีสาเหตุมากมายเลยครับ

swelling ankle2 ภาวะข้อเท้าบวม

        #physical

ภาวะเท้าบวม หรือข้อเท้าบวม นั้นจะมีอาการบวมจากบริเวณเท้าลามจนไปถึงข้อเท้าโดยภาวะนี้เป็นอาการเริ่มต้น. หรืออาการร่วมซึ่งสามารถเกิดได้หลากหลายสาเหตุทั้งโรคหัวใจโรคไตโรคตับเส้นเลือดดำผิดปรกติจนไปถึงการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการอาการบวมอักเสบเป็นไข้ได้

ผู้ป่วยที่มีโรคทางกาย หรือ โรคทางอายุรกรรม เช่น โรคความดันสูง
โรคไขมันในเลือดสูง โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ. ส่วนใหญ่มักจะมี เท้า
บวมทั้ง สองข้าง และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การอาการ
หอบกลางคืน นอนราบไม่ได้ในโรคหัวใจ. มีตัวตาเหลืองในโรคตับ
หรือมีภาวะบวมและซีดในคนไข้ที่มีภาวะไตวาย เป็นต้น
ซึ่งการบวมในคนไข้กลุ่มนี้จะเกิดจากการที่มีน้ำ เกินในเนื้อเยื้อต่างๆ
ทำให้น้ำไหลเวียนกลับไม่ดี. หรืออาจจะเกิดยาที่ใช้รักษา เช่น
ยาลดความดัน ยาเบาหวานบางชนิด ยากินกลุ่มสเตียรอยด์
ก็สามารถทำให้เกิด ภาวะข้อเท้าบวมได้เช่นเดียวกัน.
โดยถ้าขาบวมจากภาวะนี้
ควรปรึกษาอายุรแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาตามสาเหตุของโรค

      #DVT

ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน หรือที่เรียกกันว่า DVT ( Deep Vein Thrombosis) เป็นอีกโรคสำคัญอีกโรคหนึ่งที่สามารถทำให้มีเท้าบวมได้  ซึ่งจะเกิดจากการมีลิ่มเลือด (Thrombus) อุดตันในหลอดเลือดดำชั้นลึก (Deep Veins)โดยจะมีอาการบวมที่เท้า จนถึง ขา อาจจะเป็นข้างเดียว หรือ สองข้าง มีอาการ ปวด แดง ม่วง ร่วมด้วย ซึ่งอาการอาจจะรุนแรงมากขึ้น ถ้าไม่ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ  อาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือด กระจายไปที่ปอดอาจทำให้เสียชีวิตได้ สาเหตุหรือความเสี่ยงที่ส่งผลทำให้เกิดDVT นั้นมีมากมาย เช่น ภาวะอ้วนน้ำหนักเกิน โรคกรรมพันธ์ การตั้งครรภ์ โรคมะเร็ง ประวัติการนอนติดเตียง หรือนอน โรงพยาบาลเป็นเวลานาน นาน เป็นต้น การวินิจฉัย จำเป็นต้องใช้การตรวจภาพเพิ่มเติมทางหลอดเลือด เช่น การทำ duplex ultrasound หรือ การตรวจโดยการฉีดสีผ่านหลอดเลือดดำ (Ascending Venogram) เพื่อวินิจฉัย และควรปรึกษา แพทย์เฉพาะทาง เช่น อายุรแพทย์โรคเลือด แพทย์ศัลยศาสตร์หลอดเลือด เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด หรือ การกินยาละลายลิ่มเลือด ( Blood Thinning Agents) ต่อไป

       #CVI

         มีอีกภาวะหนึ่งที่ พบได้บ่อย และ หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าทำให้ เกิดการบวมบริเวณข้อเท้าได้ คือ ภาวะหลอดเลือดดำชั้นตื้นผิดปรกติ (Chronic Venous Insufficiency) หรือ ที่เราเรียกกันทั่วไปว่า เส้นเลือดขอด นั่นเองครับswelling ankle3 ภาวะข้อเท้าบวม

เส้นเลือดขอด ที่เรารู้จักกันนั้น คนส่วนใหญ่จะคิด ถึงเส้นเลือดดำขด ขอด ที่บริเวณขา. แต่จริงๆ แล้วนั้น ภาวะนี้มีอาการได้หลากหลายมาก ตั้งแต่เป็นเส้นเลือดฝอยขนาดเล็ก สีแดง ม่วงเขียว จนเป็นเส้นเลือดดำขอดขนาดใหญ่ หรือ ในบางราย อาจจะไม่มีเส้นเลือดขอดให้เราเห็น แต่อาจจะมีเส้นเลือดดำขอดอยู่ด้านใน ทำให้มีอาการขาบวม เป็นผื่นคันอักเสบที่ขา. มีสีดำคล้ำมากขึ้นได้  ถ้ามีอาการมากๆ ไม่ได้รักษา อาจจะแตกเป็นแผล และ มีโอกาสติดเชื้อได้  เท้าบวมในภาวะนี้ อาจจะเป็นขาเดียวหรือ สองขา  มักจะมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น รู้สึกขาหนักๆ เป็นตะคริว อาการบวมมากขึ้น หาก ยืน หรือ นั่ง เป็นเวลานานๆ  ถ้ายกขาสูงกว่าระดับหัวใจ อาการจะทุเลาลง.   โดยสาเหตุ ของเส้นเลือดขอดนั้น เกิดจากลิ้นในหลอดเลือดดำเสื่อม จากสาเหตุและปัจจัยต่างๆ เช่น กรรมพันธุ์ในครอบครัว ภาวะอ้วน ลักษณะงานที่ต้องยืหรือเดินนาน การใส่รองเท้าส้นสูง เป็นต้น 

              หากสงสัยจะเป็นภาวะนี้ ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เช่น ศัลย์แพทย์หลอดเลือด แพทย์หลอดเลือดดำ (Phlebologist) หรือ แพทย์ผิวหนัง เพื่อรับการตรวจ และประเมินภาวะลิ้นของหลอดเลือดดำ ว่า มีความผิดปรกติหรือไม่ ด้วยการตรวจ Duplex Ultrasound ในหลอดเลือดดำชั้นตื้น ( Superficial Veins) ว่ามี ลิ้นหลอดเลือด เสื่อมหรือไม่ ถ้ามีอาการผิดปรกติมาก อาจจะต้องทำการผ่าตัด หรือ ฉีดยากลุ่มสารทำลายหลอดเลือด ( sclerosing agents) รักษาที่ต้นเหตุ บริเวณที่มีหลอดดำที่ขอดผิดปรกติ 

sweeling3 ภาวะข้อเท้าบวม

 

 

หากอ่านมาถึง ตรงนี้แล้ว ยังคิดไม่ออก ว่า เอ๊ะ เราจะตรงกับโรคไหนนะ … ก็ยังไม่ต้องหาโรคให้ตัวเองครับ. สิ่งที่เราทำได้เองคือ การเฝ้าสังเกตอาการ หันมาดูดูแลตัวเอง.เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค  รักษาสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อให้กล้ามเนื้อขาแข็งแรง   หากงานที่ทำเป็นงานที่ต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานานๆ ควรหาเวลาเปลี่ยนท่าทุกๆครึ่ง ชั่วโมง หรือ กระดกปลายเท้า เพื่อให้กล้ามขาทำงาน เลือดจะสามารถไหลกลับสู่หัวใจได้มากขึ้น  รวมถึง การใส่ถุงน่อง หรือ ถุงเท้าเพื่อการรักษา ก็สามารถลดอาการบวม และ ทุเลาอาการปวด หรือ ความเมื่อยล้าที่บริเวณขาได้

ถุงน่องหรือ ถุงเท้าเพื่อการรักษา. (Gradual Compression Stocking)

sweeling4 ภาวะข้อเท้าบวมผลิตมาเพื่อลดความดันในหลอดเลือดดำ เนื่องจากในผู้ป่วย DVT และเส้นเลือดขอดนั้น จะมีการไหลเวียนในหลอดเลือดดำที่ผิดปรกติ ทั้งที่เกิดจาก การแข็งตัวของเลือดผิดปรกติ หรือจากลิ้นหลอดเลือดดำเสื่อม ซึ่งจะทำให้ความดันในเลือดดำมากขึ้น. การทำงานของถุงน่องในกลุ่มนี้ จะรัดที่บริเวณข้อเท้าด้วยความดันระดับต่างๆกัน จะช่วยลดการบวม อักเสบ กระตุ้นการหายของแผลที่เกิดภาวะเส้นเลือดขอด  รวมถึงลดการเกิด ภาวะ DVT ในรายที่มีความเสี่ยง หรือมีประวัติ หรือ กำลังรักษาโรค DVT อยู่.   ผู้ป่วยที่มีโรคร่วม เช่นโรคใตวาย หัวใจโต หรือ มีหลอดเลือดแดงอุดตัน ( Peripheral Arterial Disease) อาจเป็นข้อห้ามในการใส่ถุงน่องรักษา การใส่ถุงน่องรักษาในคนไข้กลุ่มนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์  รวมถึงถุงน่องรักษานั้นจะมีความดันที่บริเวณข้อเท้าในระดับต่างๆกัน เหมาะกับความรุนแรงของโรคที่ต่างกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือ แพทย์เฉพาะทางก่อน เลือกใช้นะครับ

              ภาวะเท้า หรือ ข้อเท้าบวม อาจเป็นอาการเริ่มแรก จากสาเหตุต่างๆมากมาย ถ้าเริ่มมีอาการ อย่าลืมไปปรึกษา แพทย์เฉพาะทาง เพื่อหาสาเหตุของโรค จะได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้นนะครับ

             ขอบคุณบทความโดย นายแพทย์ทนงเกียรติเทียนถาวร   แพทย์เฉพาะทางผิวหนังและหลอดเลือดดำ 

  logoGERTEXmix 1 ภาวะข้อเท้าบวม

 

ถุงน่องสำหรับผู้มีภาวะเส้นเลือดดำอุดตัน 
jobst ultrasheer 3 1 150x150 ภาวะข้อเท้าบวมJobst relief product 150x150 ภาวะข้อเท้าบวม
jobst4men 1 150x150 ภาวะข้อเท้าบวมjobst Maternity 1 150x150 ภาวะข้อเท้าบวม
Jobst ulcercare medicate 150x150 ภาวะข้อเท้าบวม
                                                                          

Leave a Reply

Your email address will not be published.