โรคพึงระวังในผผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจหลอดเลือด โรคเบาหวาน เพิ่มเติม
#elder
7โรคพึงระวังในผู้สูงวัย
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคเบาหวาน
- โรคมะเร็งลำไส้และทวารหนัก
- อัลไซเมอร์
- โรคพาร์กินสัน
- โรคตา-ต้อกระจก ต้อหิน วุ้นตาเสื่อม
- โรคกระดูก-ข้อเสื่อม
โรคหัวใจและหลอดเลือด
- ปัจจุบันโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆของคนไทย ทุกๆ 15 นาที มีคนไทยตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สาเหตุจากหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ ตัน และยืดหยุ่นได้ไม่เต็มที่ เนื้องจากมีไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่สะดวกและอาจหยุดชะงักไป ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจตาย (หัวใจวาย) และอาจเสียชีวิตได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้มีทั้งควบคุมได้ เช่น คุมอาหารมันเพื่อไม่ให้ระดับไขมันในเลือดสูง และปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ เช่น อายุ
อาการ
–เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอกเหมือนถูกกดบีบรัดอาจเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ซ้าย แขนซ้าย คอ ขากรรไกรหรือหลัง
-เหนื่อย หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลาออกกำลังกาย
-เหงื่อออก ใจสั่น หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
– หัวใจเต้นผิดปกติ
-หัวใจวาย หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ - –กรณีสังเกตอาการเหล่านี้รีบพบแพทย์ฺทันที
การดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคหัวใจและหลอดเลือด
- กินอาหารครบ5หมู่ งดอาหารเค็ม หวาน มัน
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อย่าปล่อยให้อ้วน ลงพุง ชั่งน้ำหนักประจำ
- งดบุหรี
- ออกกำลังกายอย่างถูกวิธี วันละ 30 นาที ติดต่อกัน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-5วัน
- พักผ่อนเพียงพอ
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
บทความเกี่ยวข้องเพิ่มเติม
การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด , โรคหัวใจและหลอดเลือด , ควบคุมไขมันร้ายสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด , วิธีวัดความดันโลหิต-การแปรผลที่วัดได้จากเครื่องวัดความดันโลหิต , ข้อควรและไม่ควรปฎิบัติ เมื่อต้องใช้ยาลดความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน
- โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่เราสามารถควบคุมและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะช่วยป้องกันและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน ช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตยืนยาว มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งช่วย ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาภาวะแทรกซ้อนได้อีกด้วย
- ภาวะแทรกซ้อน เกิดจากการที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดทั่วร่างกาย ค่อยๆเกิดการทำลาย ดังนั้นถ้าผู้ป่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี จะช่วยป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
- ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน แบ่งเป็น2กลุ่ม คือ ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน และเรื้อรัง
-ภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลัน ได้แก่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และสูง
-ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการ- ตาลาย ตาพล่ามัว
- หัวใจเต้นแรงและเร็ว
- สับสน เลอะเลือน
- เหงื่อออกมาก ตัวเย็น
- หน้ามือ เวียนศรีษะ
- หงุดหงิด ฉุนเฉียว
- หิวมาก มือสั่น
- กรณีเป็นมาก จะมีอาการชัก หมอสติ
-ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาการ
อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย
กระหายน้ำ
ปัสสาวะบ่อย
ตามัว
บางรายอาจชัก
กระตุกเฉพาะที่
-ภาวะแทรกซ้อนแบบเรื้อรัง แบ่งเป็น
-ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดเล็ก ได้แก่ เบาหวานขึ้นตา เบาหวานลงไต ความผิดปกติเกี่ยวกับเส้นประสาท
-ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ ได้แก่ภาวะแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดแดงที่สมอง หรือหลอดเลือดแดงบริเวณขา
- -การดูแลตนเองอย่างถูกต้องเพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน
-รับประทานยาสม่ำเสมออย่างเคร่งครัด
-ควบคุมอาหาร งดอาหารที่มีรสหวานจัด เช่น ขนมหวาน ผลไม้เชื่อม อาหารประเภทแป้ง เน้นรับประทานผัก
-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
บทความที่เกี่ยวข้อง เบาหวาน โรคเรื้อรังที่ต้องใส่ใจ , การดูแลเท้าสำหรับผู้เป็นเบาหวาน , ทำไมจึงต้องมีเครื่องตรวจน้ำตาลด้วยตัวเองไว้ที่บ้าน ,
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก
- เป็นมะเร็งที่เกิดขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ หรือช่องทวารหนัก ซึ่งเป็นทางเดินอาหารส่วนปลาย
- ปัจจัยเสี่ยง
-เพศชายเป็นมากกว่าเพศหญิง
-อายุ 50 ปีหรือมากกว่า
-ประวัติครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่
-ผู้ที่เคยมีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ ปรือเคยเป็นโรคลำใส้ใหญ่อักเสบมาก่อน
-สูบบุหรี่
-นิสัยการบริโภค : ผู้ที่ไม่บริโภคผัก ผลไม้ ดื่มน้ำน้อย
-ท้องผูกบ่อยๆ - อาการ มะเร็งในระยะแรกจะไม่มีอาการใดๆ ระยะต่อมาจะมีการขับถ่ายที่เปลี่ยนไป เช่น มีอาการท้องผูกสลับท้องเสีย อุจจาระมีมูกเลือดหรือสีแดงคล้ำ หรือดำแดง ท้องอืด ปวดท้อง แน่นท้อง อาเจียน อ่อนเพลีย น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- การป้องกัน รับประทันอาหารที่มีใยสูง เช่น ผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารปิ้ง ย่าง จนไหม้เกรียม อาหารไขมันสูง ดื่มน้ำมากๆ ระวังอย่าให้ท้องผูก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ ตรวจร่างกายเป็นประจำเพื่อคัดกรองโรค
อัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์ เป็นภาวะสม่องเสื่อมที่พบได้บ่อยสุด อาการเริ่มแรกคือสูญเสียความจำ เมื่อดำเนินไประยะหนึ่ง ผู้ป่วยจะสับสน หงุดหงิด ก้าวร้าว แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และเพิกเฉยต่อสิ่งต่างๆ เนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับรู้ความรู้สึก และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด เนื้องจากระยะเวลาการพัฒนาของโรคมีความหลากหลาย การดำเนินของโรคนี้จะมีช่วงที่ไม่แสดงอาการแน่ชัดก่อนจะปรากฏอาการแน่นอน ระยะเวลาการดำเนินของโรคตั้งแต่หลังได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค จนกระทั่งเสียชีวิตมีช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันมาก ตั้งแต่ 3-10 ปี
ปัจจัยเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น ประวัติครอบครัว พันธุกรรม (APOE4 GENOTYPE) โรคอ้วน ภาวะดื้อต่ออินซูลิน
ปัจจัยเกี่ยวกับหลอดเลือด ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง กลุ่มอาการดาวน์ การบาดเจ็บของสมอง
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า ความเสี่ยงอาจเกิดจากสาเหตบางอย่าง เช่น การใช้ยาบางอย่างเป็นเวลานาน
เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ส่งผลกระทบทั้งต่อผู้ป่วยและครอบครัว และผู้ดูแล ดังนั้นจึงควรใส่ใจในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรค
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
Leave a Reply