เมื่อลูกตัวร้อนเป็นไข้ อาการทางการแพทย์ที่แสดงว่ามีไข้ วิธีปฎิบัติตัว อาการร่วมกับไข้ที่ต้องส่งต่อ เพิ่มเติม
#fever
เมื่อลูกตัวร้อนเป็นไข้
ไข้เป็นอาการที่แสดงทางการแพทย์ที่พบบ่อย หมายถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าค่าปกติ คือ
- ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดใต้วงแขน ได้อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิปกติ ( 35.5-37.0 องศาเซลเซียส)
- ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดที่หู ได้อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิปกติ (35.4-37.8 องศาเซลเซียส)
- ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดที่ทวารหนักได้อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิปกติ (34.4-37.8 องศาเซลเซียส)
ถ้ามีไข้ และมีอาการต่อไปนี้ด้วยคือ
ให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อ |
ถ้าไม่มีอาการดังกล่าว ให้ยา และ เฝ้าดูแลใกล้ชิด ดังนี้
- ให้ยา พาราเซตามอล โดยจ่ายยาในขนาดที่เหมาะสม ( 15 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ทุก 4-6 ชั่่วโมง ) สำหรับยาลดไข้อื่นๆ พยายามเลี่ยง เพราะยาบางตัว จะมีผลเสียถ้าเด็กเป็นไข้เลือดออก
- เช็ดตัวเด็กด้วยน้ำที่อุณหภูมิห้อง หรือ อุ่นเล็กน้อย จนกระทั่งยาออกฤทธิ์ แต่ไม่ต้องเช็ด หากเด็กหนาวสั่น
- คอยสังเกตุอาการเด็ก ว่าจะมีอาการตามบทความด้านบนหรือไม่
- พบแพทย์ ถ้าอาการไม่ดีขึ้น เช่น ไข้ไม่ลด หรือมีอาการอื่นๆตามมา เช่น ผื่นขึ้น ท้องเสีย ฯลฯ
เกล็ดย่อยๆ เกี่ยวกับไข้
การใช้เทอร์โมมิเตอร์ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายเด็ก
เครื่องวัดอุณหภูมิที่ใช้ในบ้าน (เทอร์โมมิเตอร์) ที่นิยมใช้ คือ รุ่นปรอท และ เทอร์โมมิเตอร์ชนิดที่อ่านเป็นตัวเลข ( ดิจิตอล เทอร์โมมิเตอร์ ) สำหรับรุ่นดิจิตอลเทอร์โมมิเตอร์ น่าจะใช้สะดวกกว่ารุ่น ปรอท เพราะทนทานไม่แตกง่าย และอ่านได้ค่าที่ชัดเจนเป็นตัวเลข
การใช้เทอร์โมมิเตอร์ วัดอุณหภูมิร่างกาย สามารถวัดได้หลายตำแหน่ง : บริเวณใต้วงแขน บริเวณใต้ลิ้น บริเวณในรูหู
-บริเวณใต้วงแขน (Axillary Temperature)
- ทารกอายุน้อยกว่า 4 สัปดาห์ ให้วัดอุณหภูมิที่ใต้วงแขน
- ยกแขน แล้ววางกระเปาะวัดตรงกลางบริเวณใต้วงแขน
- วางแขนไว้บนหน้าอกเพื่อหนีบเครื่องวัดอุณหภูมิไว้ จนได้ยินเสียงเตือน
- วัดบริเวณใต้วงแขนข้างเดิมทุกครั้้ง เพื่อให้แม่นยำ
- วิธีวัดใต้วงแขน เหมาะกับทารกแรกเกิด และเด็กทุกวัย
-บริเวณใต้ลิ้น (Sublingual Temperature)
- วางกระเปาะวัด ใต้ลิ้น
- แนะนำให้เด็กปิดปาก และหายใจทางจมูก
- รอ 3 นาที ก่อนนำออกมาอ่านอุณหภูมิ
- วัดบริเวณเดิมทุกครั้ง เพื่อให้แม่นยำ
- การวัดใต้ลิ้น ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
-บริเวณในรูหู (Tympanic Temperature)
- สวมปลอกหุ้มแบบใช้แล้วทิ้ง เพื่อปกป้องการติดเชื้อที่หู
- ดึงใบหูเบาๆ เพื่อเครื่องวัดอุณหภูมิเข้าในรูหูได้
- สอดเครื่องวัดอุณหภูมิ เข้าไป 2-3 มม. ในรูหู จนได้ยินเสียงเตือน
- วัดสองครั้ง แล้วบันทึกค่าอุณหภูมิที่สูงสุด
- ข้อสังเกต ควรปฎิบัติตามคำแนะนำเฉพาะของผู้ผลิตเครื่องวัดอุณหภูมิเสมอ เครื่องชนิดนี้ใช้รังสีความร้อนอินฟราเรด ในการวัดอุณหภูมิ
การวัดอุณหภูมิทางทวารหนักเป็นประจำ ไม่แนะนำ เพราะ
- ไม่สะอาด
- อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บข้างใน หากใช้ไม่ถูกวิธี
- อาจทำให้เกิดแผลได้
หมายเหตุ
- ให้ตรวจสอบเครื่องวัดอุณหภูมิ ให้อยู่ในค่าต่ำก่อนใช้วัด
- ให้เทียบอุณหภูมิที่วัดจากตำแหน่งเดิมของร่างกายทุกครั้ง เพราะอุณหภูมิที่จากการวัดใต้วงแขน จะต่างจากใต้ลิ้นทุกครั้ง
การจัดการเมื่อเด็กเป็นไข้ ตัวร้อน
- สิ่งสำคัญคือต้องให้เด็กสบายที่สุด
- ใส่เสื้อผ้าบางๆเพื่อให้ระบายความร้อนออกได้สะดวก โดยทั่วไปมักปฏิบัติผิดๆ คือ มักใส่เสื้อที่ค่อนข้างหนากับเด็ก
- ห่มผ้าหากเด็กรู้สึกหนาว แต่อย่าห่มมากเกินไป หรือห้ามคลุมโปง
- ให้อาหารเหลวแก่เด็กมากๆ เช่น น้ำ น้ำนมแม่ หรือน้ำผลไม้เจือจาง เพื่อชดเชยการเสียน้ำไปกับเหงื่อในระหว่างไข้
- ให้เด็กพักผ่อนเพียงพอ
- ให้อาหารเด็กปกติ
- ให้สังเกตอาการเด็กขาดน้ำ โดยเฉพาะหากมีการอาเจียน หรือท้องว่าง
อาการขาดน้ำเล็กน้อยถึงปานกลาง จะทำให้เกิดอาการต่างๆดังนี้
-ง่วงนอนน เหนื่่อยล้า เด็กจะเฉื่อย มีกิจกรรมน้อยกว่าปกติ
-ปริมาณปัสสาวะลดลง
-มีน้ำตาน้อย หรือไม่มีเวลาร้องไห้
-ปากแห้ง
-กล้ามเนื้ออ่อนแรง
-ปวดศีรษะ
-มึนงง เวียนศีรษะ
อาการขาดน้ารุนแรง ต้องพบแพทย์ด่วน
-กระหม่อมบุ๋ม
-ปาก ผิว และเยื่อบุต่างๆแห้งมาก
-ตาโหลลึก
-ผิวเหี่ยวย่นและแห้ง ขาดความยืดหยุ่น คือ ไม่เด้งกลับเมื่อถูกบีบขึ้นมา
-มีอาการหงุดหงิด และง่วงนอนมาก
-หัวใจเต้นเร็ว
-เป็นไข้
-ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือชา
- ถ้าเด็กยังเป็นไข้ต่อเนื่อง ต้องดูแลใกล้ชิดและสังเกตอาการใหม่่ๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น มีผื่นขึ้น ท้องเสีย
- ถ้าเด็กมีอาการหงุดหงิด ไม่สะบายตัว รู้สึกปวดตัว และมีไข้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ให้รับประทานยาลดไข้ ตามแพทย์หรือเภสัชกร แนะนำ และควรเช็ดตัวเด็กด้วยน้ำธรรมดาขณะที่ยายังไม่ออกฤทธิ์
ห้ามเช็ดตัวเด็กถ้าเด็กมีอาการหนาวสั่น ให้ห่มผผ้าและใช้ยาลดไข้แทน
- ไม่จำเป็นต้องใช้เทอร์โมมิเตอร์คอยตรวจสอบอุณหภูมิไข้ของเด็กเป็นระยะ เว้นแต่เด็กจะรู้สึกร้อนมาก หรืออึดอัดไม่สะบายตัว
- ห้ามให้ยาแก้อักเสบกับเด็กก่อนปรึกษาแพทย์และเภสัชกร
Leave a Reply