เครื่องผลิตออกซิเจน เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน เป็นเครื่องมือที่สามารถสกัดอ๊อกซิเจนเข้มข้นได้มากกว่า 90 % ภายใน 5 นาที ผ่านขบวนการต่างๆได้ออกซิเจนที่มีความบริสุทธิมากกว่า 80% ขึ้นไป นำไปสู่ผู้ป่วย รายละเอียดเพิ่ม
เครื่องผลิตออกซิเจน
–สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมขณะใช้งาน
-ปัญหาและการแก้ไข
เครื่องผลิตออกซิเจน
เครื่องผลิตออกซิเจนหรือเครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจนเป็นเครื่องมือที่สามารถสกัดอ๊อกซิเจนเข้มข้นได้มากกว่า 90 % ภายใน 5 นาทีหลังจากเครื่องทำงาน หลักการทำงานของเครื่องคือ ใช้ไฟฟ้าแยกออกซิเจนออกจากอากาศปกติโดยดูดอากาศจากบรรยากาศโดยรอบ แล้วทำการแยกออกซิเจนออกจากแก๊สอื่นๆ โดยนำออกซิเจนที่ได้ผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ได้ออกซิเจนที่มีความบริสุทธิมากกว่า 80% ขึ้นไป นำไปสู่ผู้ป่วย ส่วนแก๊สอื่นๆที่เหลือ เครื่องจะปล่อยสู่อากาศตามปกติ ซึ่งจะไม่กระทบกับคนอื่นๆรอบข้าง
ข้อระวังในการใช้เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน-เครื่องผลิตออกซิเจน
- -อุปกรณ์นี้ไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยชีวิต และในบางสถานะการณ์ การบำบัดด้วยออกซิเจนอาจเสี่ยงอันตราย แนะนำให้ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องบำบัดด้วยออกซิะเจน ควรปฎิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ในปริมาณ และระยะเวลาในการบำบัดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยนั้นๆ
- -แม้ว่าเครื่องจะไม่มีสัญญาณเตือน แต่ถ้าหากเครื่องทำงานผิดปกติ หรือหากรู้สึกอึดอุัดขณะใช้งานเครื่อง ให้หยุดใช้และติดต่อตัวแทนจำหน่ายเพื่อรับตรวจเช็คเครื่องโดยทันที
- -ใช้งานตามข้อความที่ระบุบนฉลากอย่างเคร่งตรัด
- -อุปกรณ์นี้ใช้ผลิตออกซิเจนที่มีความบริสุทธิสูง ทำให้ติดไฟง่าย จึงควรตั้งเครื่องให้ห่างจากเปลวไฟ และไม่สูบบุหรี่ใกล้ผู้ป่วยที่กำลังใช้เครื่อง
- -ไม่ควรทิ้งสายช่วยหายใจไว้ใต้เตียง หรือเบาะนั่งโดยไม่มีผู้ใช้งาน ในขณะที่เครื่องยังเปิดใช้งานอยู่ เพราะออกซิเจนจะทำให้วัตถุอื่นๆติดไฟได้ง่าย
- -ไม่ใช้สารหล่อลื่น จารบี น้ำมันทุกชนิด กับเครื่องผลิตออกซิเจน
- -อันตรายจากไฟฟ้าช๊อต จึงไม่ควรเปิดฝาปิดเครื่องออกขณะยังเสียบปลั๊กกับแหล่งจ่ายไฟอยู่ การเปิดเครื่องควรปฎิบัติโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
- -ระมัดระวังไม่ให้เครื่องเปียกน้ำ หรือน้ำเข้าเครื่องโดยเด็ดขาด
- -ใช้งานเครื่องในสถานที่ปราศจากฝุ่น หรือก็าซอันตรายทุกชนิด
- -ไม่ควรใช้เครื่องในสถานที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- -ไม่ควรนำสิ่งของทุกชนิด วางบนเครื่องผลิตออกซิเจน
- -วางเครื่องบนพื้นราบ เรียบ ไม่ยุบตัว ไม่ควรวางเครื่องบนเตียง ฟูก เบาะนั่ง เพราะเครื่องอาจคว่ำตกลงบนพื้นได้
- -ไม่ควรทิ้งเครื่องโดยลำพังในขณะที่เสียบปลั๊กอยู่
- -ควรแน่ใจว่ามีการระบายอากาศออกจากเครื่องเป็นปกติขณะใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนมากเกินไป
- -ควรวอร์มเครื่องก่อนใช้งานประมาณ 5 นาที
- หมายเหตุ
-ถ้ารู้สึกว่าออกซิเจนไม่ไหล ให้ตรวจดูลูกบอลเล็กๆในมาตรวัดอัตราการไหลก่อน แล้ววางปลายสายช่วยหายใจลงในแก้วที่มีน้ำอยู่ ถ้าเกิดฟองอากาศแสดงว่ามีออกซิเจนไหลอยู่ แต่ถ้าไม่มีฟองอากาศเกิดขึ้น ให้ปิดเครื่องทันที ปล้วดูวิธีแก้ไขในคู่มือการใช้งาน (ออกศิเจนไม่เป็นอันตรายต่อบรรยากาศในห้องที่มีการใช้งานเครื่อง)
-อุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ส่วนใหญ่จะถูกรบกวนด้วยคลื่นความถค่วิทยุ (RFI) เมื่อมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูง จะมีผลต่อจอแสดงผลLCD เล็กน้อย แต่เครื่องยังสามารถทำงานได้ปกติ ควรระมัดระวังในการใช้งานเครื่อง ควรใช้สถานที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำการใช้งาน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมขณะใช้งานเครื่องผลิตออกซิเจน
- อุณหภูมิแวดล้อม : 10•c ถึง 40•c
- ความชื้นสัมพัทธ์ : 30% ถึง 85 %
- ความกดอากาศ : 7010 hPa ถึง 1060 hPa
- ใช้ในสถานที่ที่ปราศจากแก็สพิษ และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าสูง
คำถามเกี่ยวกับเครื่องผลิตออกซิเจน
Leave a Reply