ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง

ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง

 

ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง

             อาการขาบวม ขาหนักๆ ปวดขา จากการนั่งรถ นั่งเครื่องบินนานๆ เป็นปัญหาหนึ่งที่มักเกิดกับนักเดินทาง  อาจเกิดจากหลายสาเหตุ หนึ่งในสาเหตุคือภาวะหลอดเลือดอุดตัน บทความจาก นพ.ทนงเกียรติ เทียนถาวร แพทย์เฉพาะทางผิวหนังและหลอดเลือดดำ Board certified Dematologist/Phlebologist เพิ่มเติม

ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง

travelstocking1 ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง

ในยุคปัจจุบัน การท่องเทียวการเดินทางเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัว ใครๆ รอบตัวก็เดินทางเป็นว่าเล่น พอเปิด Facebook Instagram หลายๆ คนโพสรูปการเดินทางไปท่องเทียวทั้งในและต่างประเทศไม่ว่าจะใกล้ หรือ ไกล บางครังก็ทำให้เราอิจฉาจนอยากจะซือตั๋วเครื่องบินตามไปเที่ยวซะเดี๋ยวนี้เลย

    #DIV

        หมอเป็นคนหนึ่งที่ชอบเดินทางมากๆครับไม่ว่าจะเป็นการไปท่องเที่ยว ไปประชุมในต่างประเทศ ไม่ว่ามีใครเชิญหรือไม่เชิญก็อยากจะไปซะทุกงาน เนื่องจากส่วนตัวซึ่งเป็นหมอหลอดเลือดดำ คนไข้ส่วนใหญ่  มักจะมาบอกว่า เวลาเดินทางนานๆ จากการนั่งรถมาหาจากต่างจังหวัด หรือ เดินทางไกลๆ มักจะมีเรื่องขาบวม ขาหนักๆ ปวดขา หมอเลยคิดว่าบทความนี้น่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ travelstocking2 ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง
travelstocking3 ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง             อย่างที่เราทราบกันดีแล้วว่า ภาวะเส้นเลือดขอดนั้นเกิดจากการความผิดปรกติของหลอดเลือดดำที่ขา ในส่วนหลอดเลือดดำที่บริเวณลิ้น (Valve) ในหลอดเลือด ทั้งยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงในแต่ละบุคคล เช่น ประวัติครอบครัว การตั้งครรภ์ ประวัติหลอดเลือดดำอุดตัน  (Deep vein thrombosis) อาชีพที่ต้องนั่งหรือยืนเป็นเวลานาน อายุที่มากขึ้น โดยปัจจัยเหล่านี้ มีผลทำให้ลิ้น และ ผนังหลอดเลือดมีความเสื่อมและไม่สามารถทำหน้าที่ถ่ายเทเลือดกลับสู่ หัวใจได้ดี จึงทำให้เกิดภาวะความดันสูง ในหลอดเลือดดำ(Venous Hypertension) ทำใหเกิดอาการเส้นเลือดขอด และกระตุ้นการอักเสบในหลอดเลือด และ เนือเยื่อบริเวณรอบๆทำให้เกิด ความผิดปรกติในผิวหนัง เช่นเป็น รอยดำ ผิวหนังอักเสบ จนทำให้เกิดเป็นแผลลึก (Ulcer) ได้หากไม่ทำการรักษา    

           จากสาเหตุการเกิด เส้นเลือดขอดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าการนั่งเป็นเวลานานๆ ก็เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดเส้นเลือดขอดได้ ดังนั้น การที่เราต้องเดินทางไปยังที่ใดที่หนึ่งที่เป็นการเดินทางไกล และใช้เวลาในการเดินทางที่นาน ก็สามารถทำให้เลือดที่ขาเกิดการหมนุ เวียนไม่ดี ทำใหกระตุ้นอาการของเส้นเลือดขอดเช่น อาการบวมที่ข้อเท้า, อาการปวดหนักๆ ถ่วงๆ , การเกิดตะคริว หรือ อาการชาที่ปลายเท้าได้

 

     นอกจากนั้น วารสารทางการแพทยังได้กล่าวถึง ภาวะหลอดเลือดดำอุดตันหรือ ที่เรียกสั้นๆ ว่า DVT ซึ่งย่อมากจาก Deep Vein Thrombosis ว่าภาวะนีเกิดจากการที่เลือดของเรามีการแข็งตัวมากกว่าปรกติ (Hypercoagulation) โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น การนอนโรงพยาบาลนานๆ , การผ่าตัดใหญ่,
โรคมะเร็ง หรือ โรคทางพันธุกรรม บางชนิด ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะทำใหเ้กิด ขาที่มีอาการปวด บวมเจ็บ การวินิจฉัย สามารถทำได้โดยการทำ อัลตราซาว และการได้รับการรักษาโดยใช้ยาละลายลิ่มเลือด และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา ลิ่มเลือดอาจหลุดไปยังอวัยวะสำคัญ เช่น ปอด ทำให้เเกิดการอุดตัน ที่เรียกว่า PE(pulmonary embolism) ทำให้เสียชีวิตได้
travelstocking4 ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง
travelstocking5 ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง
     

               ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะเส้นเลือดขอด และ ภาวะหลอดเลือดดำอุดตันที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีประวัติการผ่าตัดใหญ่ภายใน 1 เดือน, มีประวัติการมีลิ่มเลือดอุดตันในปอด หากต้องทำการเดินทางไกลๆ ไม่ว่า จะเป็นทางรถยนต์ หรือเครื่องบิน ที่จำเป็นต้องนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะ การเดินทาง ที่ใช้เวลามากกว่า 3 ชั่วโมง การใส่ถุงน่องเพื่อการรักษา (Gradual Compression Stocking) การดื่มน้ำเยอะๆ (hydration) การเคลื่อนไหวของเท้าและขา มีประโยชน์ในการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุตตันในปอด (PE) ซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินและทำให้เสียชีวิตได้ ถึงแม้การรายงานอุบัติการเกี่ยวกับการเกิด PE จากการเดินทางจะมีโอกาสน้อยมาก แต่ภาวะนี้สามารถเกิดหลังการเดินทางได้ถึง 2 เดือน ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

             นอกจากนั้นในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพื่อป้องกันภาวะดังกล่าว ภายใต้คำแนะนำของแพทยเ์ฉพาะทาง

               ถุงน่องเพื่อการรักษานั้นจะมีหลายขนาด หลายความยาว และมีความดันที่ข้อเท้าต่างๆกันไป การเลือกใชจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินความเหมาะสมของผู้ใช้ว่าไม่มีภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน รวมถึงการวัดขนาดที่พอเหมาะเพื่อให้ได้ความดันที่ข้อเท้าที่เหมาะสม

             สำหรับการเดินทางนั้น การใช้ถุงน่องระดับเข่า (knee high) ดัน15-20 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเพียงพอในการลดอาการปวด บวม จากภาวะเส้นเลือดขอด รวมถึงการป้องกันการเกิดภาวะเลือดอุดตันที่ขาได้

             อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว หากผู้อ่านท่านใด มีอาการดังกล่าว ก็อย่าลืมพกถุน่องไปใส่บนเครื่องด้วยนะครับ …. เดินทางปลอดภัยครับ

นพ. ทนงเกียรติ เทียนถาวร

 

logoGERTEXmix 1 ภาวะหลอดเลือดอุดตันจากการเดินทาง

 

 

Leave a Reply

Your email address will not be published.