โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ พบบ่อยในตำแน่งต่างๆที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น ข้อเข่า สะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น เพิ่มเติม
โรคข้อเสื่อม
#arthritis
โรคข้อเสื่อม อาการ
อาการต่างๆของโรคข้อเสื่อม
- มีอาการปวดข้อ ปวดเข่าในตอนเช้า โดยปวดตื้อๆ ทั่วๆไปบริเวณข้อ ไม่สามารถระบุตำแหน่งชัดเจนได้ และมักปวดเรื้อรัง
- ปวดข้อ ข้ออักเสบบวม ข้อโตขึ้น
- ข้อฝืด เช่น กำมือลำบาก พบได้บ่อย จะมีการฝือของข้อในช่วงเช้าและหลังจากพักข้อนานๆ
- ข้อแข็ง เมื่ออยู่ท่าหนึ่งท่าใดนานๆ
- มีเสียงกรอบแกรบในขณะเคลื่อนไหว โดยเฉพาะที่ข้อเข่า
ขอขอบคุณรูปภาพจากหนังสือ bone&joint รู้รักษา รู้ป้องกัน โรคข้อเสื่อม และกระดูกพรุน รศ.นพ.พงศักดิ์ ยุกตะนันทน์
- ข้อผิดรูป เข่น ข้อเขาโก่ง ข้อบวมจาการที่กระดูกงอกโปนบริเวณข้อ
- การเดินผิดปกติ เข่น เดินกระเผลก
สาเหตุของโรค
เกิดจากกระดูกอ่อนผิวข้อ (cartilage) ลดลง ซึ่งตามปกติกระดูกอ่อนผิวข้อจะทำหน้าที่เป็นเสมือนตัวดูดซับแรงกดภายในข้อและป้องกันมิให้กระดูกที่อยู่ภายใต้กระดูกอ่อนกระแทกกับกระดูกอีกฝั่ง หากกระดูกอ่อนผิวข้อเหล่านี้ลดลงไม่ว่าด้วยสาเหตุใดก็ตาม น้ำหนักหรือแรงกดที่กระทำกับข้อ จะส่งผลให้กระดูกใต้กระดูกอ่อนผิวข้อสัมผัสกัน กล้ามเนื้อและเอ็นรอบข้อถูกยึด เป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดตามมา
ข้อกระดูกปกติ
จะมีกระดูกอ่อน อยู่ที่ปลายของกระดูก 2 ท่อน มาเชื่อมต่อกันเป็นข้อ ทำหน้าที่ลดแรงที่กระทำต่อข้อและทำให้ข้อเคลื่อนไหวด้วยความราบรื่น
ข้อกระดูกที่เริ่มเสื่อม
กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ จะเริ่มบางลงและมีผิวไม่เรียบ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหว กระดูกอ่อน จะเสียดสีกัน เกิดเสียงดับกรอบแกรบ
ข้อกระดูกที่เสื่อมแล้ว
- หากกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อสึกมาก เมื่อข้อมีการเคลื่อนไหว กระดูกแท้จะเสียดสีกัน ทำให้เกิคความเจ็บปวด ข้อฝืด และเคลื่อนไหวไม่สะดวก
ขอขอบคุณรูปภาพจากหนังสือ bone&joint รู้รักษา รู้ป้องกัน โรคข้อเสื่อม และกระดูกพรุน รศ.นพ.พงศักดิ์ ยุกตะนันทน์
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเสื่อม
- อายุ ยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสพบโรคข้อเสื่อมมากขึ้น เนื่องจากมีการสร้างกระดูกอ่อนผิวข้อน้อยลง
- น้ำหนักตัวมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดแรงกดภายในข้อที่รับน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
- กิจกรรมบางอย่างที่ส่งผลให้ข้อต้องรับแรงกดมากจนเกินไป เช่น การนั่งคุกเข่าหรือนั่งพับเพียบ
- ปัจจัยทางพันธุกรรม โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีประวัติข้อและกระดูกอ่อนผิวข้ออ่อนแอ
ข้อแนะนำการปฎิบัติตัวสำหรับผู้เป็นโรคข้อแสื่อม
- ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน พิจารณาจากค่า BMI
- หลีกเลี่ยงท่าที่ต้องใช้ข้อที่เสื่อมมาก เช่น การนั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งพับเพียบ
- หมั่นบริหารกล้ามเนี้อรอบข้อที่เสื่อมอยู่เสมอ โดยหมั่นออกกำลังกายด้วยวิธีที่ถูกต้องไม่ลงน้ำหนักที่ข้อ เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว วิ่งเหยาะ
- ใช้ไม้เท้าข่วยเมื่อต้องเดินทางไกล
แนวทางการรักษา โรคข้อเสือม
- ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมโดยแพทย์ กรณีเป็นรุนแรง
- การทำกายภาพบำบัด ได้แก่ การบริหารกล้ามเนี้อรอบข้อให้แข็งแรง
- ใช้ยาบรรเทาอากาศปวด ควรปรึกษา แพทยฺ์ หรือ เภสัชกร
- ยาที่ช่วยเสริมสร้างและยับยั้งการทำลายกระดูกอ่่่อนผิวข้อ เช่น กลูโคซามีน,คอลลาเจนไฮโดรไลเซท ควรปรึกษาเภสัชกร เพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ให้ถูกต้อง
สินค้าที่ที่ควรมีสำหรับผู้เป็นโรคข้อเสื่อม
- รถเข็นคนไข้ กรณีข้อเสื่อมมากๆจนไม่สามารถเดินได้ หรือเดินลำบาก
- ไม้เท้า วอล์คเกอร์ โรเลเตอร์ ช่วยพยุงร่างกายเวลาเดิน
- ผ้ายืดพยุงร่างกาย โดยเฉพาะที่สวมเข่า เพื่อป้องกันอาการปวด และพยุงเวลาเดิน
- เครื่องชั่งน้ำหนัก เพื่อควบคุมน้ำหนักตัว
เครื่องชั่งน้ำหนักพร้อมวัดส่วนสูง ทั้งแบบดิจิตอล,คานเลื่อน,สปริง @gertex
[…] โรคข้อเสื่อม เป็นความผิดปกติของข้อที่พบได้บ่อยเมื่อเข้าสู่วัยกลางคน และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ พบบ่อยในตำแน่งต่างๆที่ต้องรับน้ำหนักมาก บทความกล่าวถึง อาการต่างๆ สาเหตุ ปัจจัยเสียง ข้อปฎิบัติสำหรับผู้มีข้อเสื่อม แนวการรักษา บทความ […]