ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุและการดูแล
สาเหตุข้อเข่าเสื่อมการระวัง เพื่อไม่ให้ข้อเข่าเสื่อม การดูแลเข่า เพิ่มเติม
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุและการดูแล
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุและการดูแล#KNEE
ข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุและการดูแล
วัตถุประสงค์บทความ เพื่อให้ความรู้เรื่องข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงวัยและการดูแลข้อเข่าเสื่อม เพื่อการดูแลข้อเข่าที่ถูกต้อง เพื่อชะลอความเสื่อมและอายุการใช้งาน
อายุที่มากขึ้นส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสือ่มได้ นอกจากนี้ น้ำหนักตัวมาก, การเดินมากๆขึ้นลงบันไดบ่อยๆ ,การลงน้ำหนักที่ข้อเข่าแบบผิดวิธี เช่น การออกกำลังกายโดยการวิ่ง ,อุบัติเหตุที่ทำให้มีการสึกหรอของกระดูกอ่อนก่อนวัย ปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมให้ข้อเข่าเสื่อม
แนวทางรักษาข้อเข่าเสื่อม
- การรักษาแบบทั่วไป เช่น การลดน้ำหนักตัว การใช้ไม้เท้า การใช้อุปกรณ์ประคองเข่า การประคบร้อน
- การรักษาโดยการใช้ยา เช่น ยาแก้ปวด ยาบำรุงข้อเข่า การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า ปรึกษาแพทย์ และ เภสัชกร
- การผ่าตัด กรณีรักษาข้างต้นไม่ได้ผล หรือเข่าเสื่อมมากจนกระดูกโก่งงอ
การป้องกันและการดูแลเมื่อมีปัญหาข้อเข่าเสื่อม-การรักษาแบบทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบริเวณข้อเข่าที่ผิดวิธี เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อยๆ การยกของหนัก
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป หมั่นชั่งน้ำหนัก ควบคุมอย่าให้น้ำหนักขึ้น น้ำหนักที่มากเกินจะทำให้เข่าต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้เสื่อมเร็วขึ้น
- หมั่นบริหารกล้ามเนี้อรอบเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนี้อด้านหน้าของต้นขา
ท่าออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับบริหารกล้ามเนี้อรอบเข่า
- ใช้อุปกรณ์ช่วยรับน้ำหนัก เข่น ไม้เท้า วอล์คเกอร์ โรเลเตอร์ เมื่อต้องการเดินระยะไกล หรือเดินในที่ไม่เรียบ (ไม้เท้า)
- เมื่อมีอาการปวดเข่า ให้หยุดพัก ไม่ควรฝืนเดินต่อ อาจใส่อุปกรณ์พยุงเข่า ประคองเข่าเวลายืน เดิน หรือยกของหนัก
- การขึ้นบันได ให้ใช้ขาข้างที่ดีก้าวนำขึ้นไปก่อน ขาข้างที่เข่าเสื่อมหรือปวด ก้าวตามมาชิดกัน
การลงบันได ให้ก้าวขาข้างที่ปวดลงก่อน ก้าวขาข้างที่ดีตามลงมา
จำง่ายๆ คือ ดีขึ้น เลวลงดีขึ้น-เลวลง (เวลาขึ้น ขาดีขึ้นก่อน เวลาลงขาปวดเลวลงก่อน) - หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการงอเข่ามาก เช่น นั่งพับเพียบ นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า เพราะจะทำให้ผิวข้อเข่าเสื่อมเร็ว ควรนั่งเก้าอี้สูงพอประมาณ ให้เข่างอตั้งฉากกับพื้น เท้าวางราบกับพื้น
หมายเหตุ เวลาไปวัด ฟังเทศน์ ผู้สูงวัยควรเลือกนั่งเก้าอี้ฟังธรรม
ถ้าต้องช่วยทำงานบ้าน เช่น ล้างจาน ควรยืนล้างกับซิ๊งน้ำ ไม่ควรใช้วิธีเดิมๆคือ นั่งเก้าอี้เล็กเตี้ย ล้างในกะละมัง
- สำหรับโถนั่งถ่ายที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อมและเพื่อป้องกันข้อเข่าเสื่อมควรเป็นห้องน้ำแบบโถนั่ง กรณีที่เป็นโถแบบนั่งยองควรมีเก้าอี้นั่งถ่ายครอบก่อนนั่ง หรือ รถเข็นนั่งถ่ายกรณีผู้สูงวัยหรือผู้ที่มีข้อเข่าเสื่อม ผิดรูป เดินไม่สะดวก
โถส้วมแบบนั่ง ที่นั่งถ่าย รถเข็นนั่งถ่าย - ควรนอนบนเตียงซึ่งมีความสูงระดับเข่า ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะผิวข้อเข่าจะเสียดสีกันมากขึ้น เวลาจะลุกขึ้นหรือจะนอน บางท่านอาจดัดแปลงเตียงคนไข้ไฟฟ้า เป็นเตียงนอนโดยเลือกรุ่นที่สามารถปรับความสูงของเตียงได้ พนักสามารถปรับเอนขึ้นได้ โดยทั้งหมดนี้้ ผู้ใช้สามารถปรับได้เองด้วย remote control
ท่าบริหารกล้ามเนื้อเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเข่า –ขอบคุณบทความจากหนังสือการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนพิมพ์สพธ.05/06/58
-กรณียังมีอาการปวดเข่า ท่าที่1
-กรณีการปวดเข่าทุเลาลงแล้ว ท่าที่ 2-5
-กรณียังมีอาการปวดเข่า
ท่าที่1
นั่งต้วตรงหลังพิงพนัก ยกขาขึ้นจนเหยียดตรง กระดกปลายเท้าเข้าหาตัว เกร็งเข่านับหนึงถึง10 แล้ววางลง
ทำซ้ำ 10-15ครั้ง แล้วทำสลับอีกข้างในแบบเดียวกัน
-กรณีปวดเข่าทุเลาลงแล้ว ให้บริหารด้วยท่าต่อไปนี้ ท่าที่2-5
ท่าที่2
เพิ่มน้ำหนักถ่วงบริเวณข้อเท้า เพื่อให้กล้ามเนี้อขาได้ออกแรงมากขึ้น โดยใช้ถุงทรายถ่วงข้อเท้าแล้วบริหารแบบท่าที่1 โดยใช้น้ำหนักปริมาณ 0.5-1 กิโลกรัม แล้วค่อยๆเพิ่มน้ำหนักขึ้นทีละน้อย
ท่าที่3
นอนหงาย ใช้หมอนใบเล็กรองใต้ข้อเข่า ยกปลายขาให้สูงจากพื้นจนข้อเข่าตรง เกร็งหน้าขาและกระดกปลายเท้า นับ1-10 แล้วเอาลง ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง แล้วสลับอีกข้างทำแบบเดียวกัน
ท่าที่4
ใช้หมอนใบเล็ก หรือม้วนผ้าขนหนูรองใต้ข้อเข่า แล้วกดเข่าดันผ้าให้แนบกับพื้น เกร็งหน้าขา นับ 1-10 แล้วผ่อนแรง ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง แล้วสลับอีกข้างทำแบบเดียวกัน
ท่าที่5
นอนคว่ำ งอเข่าเข้าหาลำตัวเท่าที่ไม่ปวดแล้วเหยียดออกจนสุด ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง แล้วสลับทำอีกข้าง ท่านี้ช่วยเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของข้อ
Leave a Reply