แผลกดทับ-bedsore

แผลกดทับ

posted in: topic, topic-health | 0

แผลกดทับ,ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ กล่าวถึง แผลกดทับ-bedsoreระยะต่างๆ ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ เมื่อนอนหงาย เมื่อนอนคว่ำ เมื่อนั่ง  การป้องกัน ที่นอนลม    เพิ่มเติม                                        

                                                      แผลกดทับ,ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ

bedsore stage1 41 1 แผลกดทับ
แผลกดทับ ระยะ 1-4

 

 

   #bedsore

แผลกดทับ-BEDSORE ระดับของแผลและการป้องกัน

แผลกดทับ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ไม่สามารุถเคลื่อนไหวได้เอง หรือ นอนบนเตียงคนไข้นานๆ ทำให้ผิวหนังบางส่วนถูกกดทับ อย่างต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงผิวหนังที่ถูกกดทับ ได้อย่างสะดวก ทำให้ผิวหนังเป็นรอยแดง และมีการแแตกทำลายของผิวหนัง จากระดับที่1 เรื่อยไปจนถึงระดับ4 แผลกดทับมักเกิดบริเวณเนื้อเยื่อที่อยู่เหนือปุ่มกระดูก เช่น บริเวณกระดูกก้นกบ กระดูกสะโพก ตาตุ่ม เป็นต้น

แผลกดทับมี 4 ระดับ

bedsore 1 1 150x94 แผลกดทับ
bedsore-stage1
  • แผลกดทับ ระดับ1 เป็นรอยแดง กดรอยแดงไม่จางหายภายใน30 นาที การป้องกันโดยป้องกัน แรงเสียดทานแรงกดทับโดยใช้อุปกรณ์ที่ช่วยลดแรงกดทับ เช่น หมอน ที่นอนลม เจลโฟม และเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง ทาโลชั่นไม่ให้ผิวแห้ง ป้องกันผิว ไม่ให้เปียกชื้น กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหว
bedsore 2 1 150x98 แผลกดทับ
bedsore-stage2
  • แผลกดทับ ระดับ2 ผิวหนังส่วนบนหลุดไป ฉีกขาดเป็นแผลตื้น มีรอยแดงบริเวณเนื้อเยื่อ รอบๆ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน มีสิ่งขับหลั่งจากแผลปริมาณเล็กน้อยหรือปานกลาง การดูแลคล้ายระดับ1 การป้องกันไม่ให้เป็นแผลเพิ่ม เช็ดรอบๆด้วย Alcohol 70 % ใช้น้ำเกลือ (sterile isotonic sodium chloride solution) ทำความสะอาดแผล ใช้ silver sulfa diazineทาแผล ปิดด้วยผ้าก็อส ใช้วาสลินทาผิวหนังรอบแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเปียกแฉะ หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยา Povidine เช็ดแผล
bedsore 3 1 150x108 แผลกดทับ
bedsore-3
  • แผลกดทับ ระดับ3 มีการทำลายผิวถึงชั้นไขมัน มีรอยแผลลึกเป็นหลุมโพรง มีสิ่งขับหลั่ง ออกจากแผลมาก อาจมีกลิ่นเหม็น การรักษาควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์
bedsore 4 1 1 150x103 แผลกดทับ
bedsore-stage4-1
bedsore 4 2 1 150x104 แผลกดทับ
bedsore-stage4-2
p bedsore stage41 1 150x150 แผลกดทับ
แผลกดทับระยะ4

 

  • แผลกดทับ ระดับ4 มีการทำลายถึงเส้นเอ็น กล้ามเนื้อ กระุดูก แผลเป็นโพรง มีสิ่งขับหลั่ง จากแผลมาก มีกลิ่นมาก การรักษาควรปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์

 

ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ

bedsorepoint 210x300 แผลกดทับ
ตำแหน่งที่มักเกิดแผลกดทับ

          สำหรับคนไข้ที่นอนติดเตียงผู้ป่วย หรือนั่งรถเข็นผู้ป่วยนานๆ มักเกิดแผลบริเวณเนื่อเยื่อที่อยู่เหนือปุ่มกระดูก เช่น บริเวณกระดูกก้นกบ บริเวณสะโพก บริเวณตาตุ่ม สาเหตจากขณะนอนหรือนั่ง น้ำหนักทั้งหมดของผู้ป่วยจะกดทับในส่วนโปนของกระดูก บริเวณหลังและสะโพกเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงเช่นกัน

 

  • -ท่านอนหงาย บริเวณที่มักเกิดแผลกดทับ คือ ท้ายทอย ใบหู หลังส่วนบนก้นกบ ข้อศอก ส้นเท้า 
    bedsore lineSupine 300x125 แผลกดทับ
    แผลกดทับ-ท่านอนหงาย
  • -ท่านอนตะแคง บริเวณที่มักเกิดแผลกดทับ คือ ศีรษะด้านข้าง หัวไหล่ กระดูกก้น ปุ่มกระดูกต้นขา หัวเข่าด้านหน้า ตาตุ่ม
    bedsoreSleepOn1side 300x125 แผลกดทับ
    แผลกดทับ-ท่านอนตะแครง
  • -ท่านั่งนานๆ เช่น คนไข้ที่นั่งรถเข็นคนป่วย บริเวณที่มักเกิดแผลกดทับ คือ ปุ่มกระดูกก้้น กระดูกสะบัก เท้า ข้อศอกด้านนอก
    bedsoreSitdown 300x125 แผลกดทับ
    แผลกดทับ-ท่านั่ง

สาเหตุของการเกิดแผลกดทับ

  1. การกดทับ
  2. ภาวะทุพโภชนา
  3. การถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การนอนนานๆ การนั่งนานๆ โดยไม่เคลื่อนไหว
  4. การติดเชื้อ
  5. การทำงานของระบบประสาทความรู้สึกเสื่่อม
  6. การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง เช่น ผิวหนังแห้ง

การดูแลผู้ป่วยไม่ให้เกิดแผลกดทับ

จัดให้ผู้ป่วยนอน นั่งบนที่นอนหรือที่นั่งนุ่มๆ เช่น ที่นอนลม แผ่นรองนั่งแบบเจล

ใช้หมอนนุ่มๆรองตามปุ่มกระดูก

เปลี่ยนท่านอนอย่างน้อยทุก 2 ชั่วโมง เพื่อลดการกดทับบริเวณผิวหนังและปุ่มกระดูก

ดูแลความสะอาดผิวหนังและป้องกันไม่ให้เปียกชื้น

คอยตรวจดูสภาพผิวหนังทุกคร้งเมื่อพริกตะแคงตัว

หากพบรอยแดงหรือผิวหนังถลอกด้านใดควรหลีกเลี่ยงการนอนทับผิวหนังบริเวณนั้น

เมื่อมีแผลต้องรีบรักษาให้หายโดยเร็ว

หากพบแผลลุกลามควรพบแพทย์โดยด่วน

ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันแผลกดทับ เช่น ที่นอนลมป้องกันแผลกดทับ สอบถามเพิ่มเติม 

logoGERTEXmix 1 300x20 แผลกดทับ

Leave a Reply

Your email address will not be published.