ควบคุมไขมันร้ายสาเหตหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด นำมาซึ่งการเสียชีวิต และ พิการ สาเหตุ การป้องกัน เพิ่มเติม highcholesterol
ควบคุมไขมันร้ายสาเหตหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจและหลอดเลือด นำมาซึ่งการเสียชีวิต และ พิการ ต้องนอนบนเตียงคนไข้ หรือ นั่งรถเข็นคนป่วยตลอดเวลา ทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เสียทั้งสุขภาพจิต เสียเวลาดูแลผู้ป่วย เสียเงินรักษา การดูแลป้องกันต้องเริ่มจากการควบคุมพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และอื่นๆ บทความนี้จะกล่าวถึงการควบคุมและรับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกันไม่ให้ไขมันเลวในเลือดสูง

ไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล)
ไขมันในเลือด ประมาณ 80% สร้างขึ้นที่ตับ โดยมีปัจจัยในการสร้างมากน้อยจาก
- -พันธุกรรม ผู้ที่มีญาติสายตรงเช่น คุณพ่อเป็นโรคหัวใจก่อนอายุ55ปี หรือมีคุณแม่เป็นโรคหัวใจก่อนอายุ 65ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดไขมันอุดตันมากกว่าคนที่ไม่มี
- -ไขมันอิ่มตัว ยิ่งทานมากยิ่งสร้างไขมันโคเลสเตอรอลมาก พบได้จากอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์
- -ไขมันทรานส์ ยิ่งทานมากยิ่งสร้างไขมันโคเลสเตอรอลมาก พบได้จากอาหารประเภท เบเกอรี่ ฟาสต์ฟูด ขนมกรุบกรอบ เนยขาว ครีมเทียม
การเลือกชนิดของอาหาร เพื่อป้องกันโรคหัวใจและเส้นเลือดอุดตัน
สัดน้อยของคลอเลสเตอรอล ประมาณ 20%มาจากอาหาร จึงควรเน้นการลดไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์มากกว่าการควบคุมอาหาร ดังนี้
- เวลาประกอบอาหารพวกเนื้อสัตว์ ตัดชั้นไขมันออกจากเนื้อแดง เลี่ยงการใช้หนังสัตว์ เช่นหนังไก่ประกอบอาหาร เพราะประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวจำนวนมาก
- ผู้ใหญ่และเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปควรเลือกทานเฉพาะนมไขมันต่ำ (low fat) หรือ นมไม่มีไขมัน (non fat) แทนนมไขมันเต็มส่วน (whole milk)
- ควรเลือกกับข้าวที่มีผักมากๆ โดยเลี่ยงเมนูที่เป็นผักทอด น้ำพริก-ผักต้ม เป็นเมนูสุขภาพของคนไทย
- ควรเลือกทานผลไม้ น้ำผลไม้ปั่นรวมกาก แทนทานขนมที่มีไขมันสูง เช่น ขนมเค็ก
- เพิ่มอาหารที่มีเส้นใยสูง และธัญพืชไม่ขัดสี เลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาว ขนมปังโฮลวีทแทนขนมปังขาว อาหารที่มีเส้นใยละลายน้ำสูง จะช่วยดูดซับน้ำ ทำให้อิ่มนาน ช่วยชะลอการย่อยและดูดซึม
- รับประทานผัก ผลไม้ หลากหลายให้ครบทั้ง 5 สี เช่น สีแดง:บีทรูท สีเขียว:ผักบุ้ง สีเหลือง:สับปะรด
- ทานอาหารประเภทปลา โดยเฉพาะปลาทะเล ใช้วิธี ต้ม ย่าง แทนการทอด ในปลาทอดจะมีกรดไขมันไม่อิ่มต้วสูง (โอเมก้า3)
- ลดปริมาณเกลือในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะผู้มีโรคความดันโลหิตสูง
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล เพราะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง แอลกอฮอลเพิ่มระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์ , แอล ดี แอล(ไขมันชนิดเลว) ลดระดับเอส ดี แอล (ไขมันดี)
- เสริมอาหารเสริมที่มีส่วนช่วยควบคุม และป้องกันไขมันในเลือดสูง
-น้ำมันปลา (Fish oil) ให้กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว กลุ่มโอเมก้า3 ได้แก่ อีพีเอ ( EPA) และ ดีเอชเอ (DHA)
-เลซิติน (Lecithin) ทำให้ไขมันคลอเลสเตอรอลเกิดการแตกตัวมีขนาดเล็กลง ลดการเกาะตัวของไขมันตามผนังหลอดเลือด
-สารสกัดโพลีโคซานอล ( Policosanol) เป็นสารที่พบในไขเปลือกอ้อย มีส่วนช่วยลดระดับไขมันคลอเลสเตอรอล โดยนำพาไขมันที่สะสมและอุดตันตามผนังหลอดเลือดไปทำลายที่ตับ ป้องกันภาวะความหนาตัวของผนังหลอดเลือด และฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของหัวใจและตับ
ชนิดของไขมันในเลือด และระดับที่เหมาะสม
ค่าที่ได้จากการตรวจเลือดเพื่อดูภาวะไขมันในเส้นเลือด และระดับที่เหมาะสม
ชนิดของไขมัน | ระดับที่เหมาะสม |
---|---|
คลอเลสเตอรอลรวม | น้อยกว่า 200-220 มก/ดล |
แอล ดี แอล คลอเลสเตอรอล(ไขมันตัวร้าย) LDL | น้อยกว่า 100-200 มก/ดล |
เอช ดี แอล คลอเลสเตอรอล(ไขมันตัวดี) HDL | มากกว่า 60 มก/ดล |
ไตรกลีเซอไรด์ TG | น้อยกว่า 100-200 มก/ดล |
นอกจากการดูค่าต่างๆตามตรางแล้ว ยังให้ความสำคัญต่อ อัตราส่วน ของ
- คลอเลสเตอรอลรวม/เอช ดี แอล คลอเลสเตอรอล ค่าที่เหมาะสมคือ ต่ำกว่า 3.5 และไม่ควรเกิน 5 เพราะถ้าค่าสูงกว่า5 แสดงถึงความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- แอล ดี แอล คลอเลสเตอรอล(ไขมันตัวร้าย) LDL/เอช ดี แอล คลอเลสเตอรอล(ไขมันตัวดี) HDL ค่าที่เหมาะสมควรต่ำกว่า 3.5
- ที่มา ข้อมูลจาก สถาบันสาธารณสุขแห่งสหรัฐ(National Institute of Health, U.S. Department of Health and Human Services)
Leave a Reply